คริสต์มาส วันคริสต์มาส | |
---|---|
ฉากการประสูติของพระเยซู
| |
ชื่ออื่น | Noël, การประสูติของพระเยซู, Xmas, Yule |
ลัทธิศาสนา | คริสต์ศาสนิกชนs ผู้นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก[1][2] |
ประเภท | ศาสนาคริสต์, วัฒนธรรม |
ความสำคัญ | วันประสูติของพระเยซู |
วันที่ | 25 ธันวาคม (ใน ศาสนาคริสต์ตะวันตก) หรือ 7 มกราคม, หรือ 6 หรือ 19 มกราคม[3][4][5] |
การถือปฏิบัติ | การเข้าร่วมพิธีในโบสถ์, การให้ของขวัญ, การพบปะกันระหว่างครอบครัว, การตกแต่งเป็นสัญลักษณ์ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทศกาลพระคริสตสมภพ, คืนก่อนวันคริสต์มาส, เทศกาลเตรียมการรับเสด็จ, แม่พระรับสาร, วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์, ล้างบาปของพระเจ้า, Nativity Fast, การประสูติของพระเยซู, Yule |
วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557
กิจกรรมคริสต์มาส
คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษโบราณ: Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[6][7] มักจัดวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรมโดยประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลก วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวัน[8] คริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น[1][9][10] และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด
กิจกรรมวันฮาโลวีน
วันฮาโลวีน (Halloween) ประเพณีปลุกผีชาติตะวันตก!!
ในวันที่ 31 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ เป็น วันฮาโลวีน
(Halloween) ซึ่งเป็นวันที่ชาวชาติตะวันตก
นิยมแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจและพาเพื่อนฝูงไปงานเลี้ยงฉลองกัน โดยในวันฮาโลวีนนั้น
จะมีการประดับแสงไฟ ต่างๆ ให้คล้ายกับเมืองภูตผีปีศาจ โดยสัญลักษณะของวันฮาโลวีน
คือ โคมไฟฟักทองแกะสลัก เรียกกันว่า แจ๊ก
โอแลนเทิร์น (Jack-o lantern)
ซึ่งประเทศที่นิยมจัดงานในวันฮาโลวีนได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรราชอาณาจักร (อังกฤษ)
แคนาดา และชาติต่างๆ อีกมากมาย แต่ในโซนเอเซียบ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
ประวัติวันฮาโลวีน
สาเหตุที่วันฮาโลวีน ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม
ของทุกปีนั้น เชื่อกันว่า เป็นวันที่ชาวเคลต์ (Celt)
ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอซ์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดปี
โดยถือกันว่าเป็นวันที่มิติคนตายและ มนุษย์จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและ
วิญญาณผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเพื่อสิงสู่
เพื่อที่จะได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จึงทำให้คนเป็นอย่างเรา
ในวันฮาโลวีนจะต้องหหาทางแก้ไขด้วยการปิดไฟในบ้านทุกดวง ให้บ้านมืดมิด
ร่วมกับอากาศที่หนาวซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของบรรดาผีร้าย
อีกทั้งยังมีบางส่วนจะแต่งตัวเป็นผีต่างๆ
เพื่อกลบเกลือนวิญญาณว่าไม่ใช่คนเป็นนั้นเอง
กิจกรรมในวันฮาโลวีน
ในวันฮาโลวีน ที่นิยมจัดกันในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะกลุ่ม เด็กๆ ที่จะแต่งกายเป็นภูตผี ปีศาจ ในรูปแบบต่างๆ และพากันออกไปร่วมงานฉลองวันฮาโลวีน โดยจะเรียกการเล่นนี้ว่า Trick of Treat (หลอกหรือเลี้ยง) ซึ่งเด็กๆ ที่แต่งตัวเป็นภูติผีปีศาจนั้นๆ จะเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อขอขนมที่นิยมจะเป็นลูกกวาด นั้นเองและอีกหนึ่งกิจกรรมในวันฮาโลวีน นอกจากเคาะประตูขอขนมตามบ้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีการนำ แอปเปิล กับเหรียญชนิดหกเพ็นซ์ใส่ลงในอ่างน้ำ หากใครสามารถแยกแยะของสองอย่างนี้ ออกจากกันได้ด้วยการใช้ปากคาบเหรียญขึ้นมา และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิลให้ติดเพียงครั้งเดียวถือว่าผู้นั้นจะโชคดีตลอดปีใหม่ ที่กำลังมาถึง
ในวันฮาโลวีน ที่นิยมจัดกันในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะกลุ่ม เด็กๆ ที่จะแต่งกายเป็นภูตผี ปีศาจ ในรูปแบบต่างๆ และพากันออกไปร่วมงานฉลองวันฮาโลวีน โดยจะเรียกการเล่นนี้ว่า Trick of Treat (หลอกหรือเลี้ยง) ซึ่งเด็กๆ ที่แต่งตัวเป็นภูติผีปีศาจนั้นๆ จะเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อขอขนมที่นิยมจะเป็นลูกกวาด นั้นเองและอีกหนึ่งกิจกรรมในวันฮาโลวีน นอกจากเคาะประตูขอขนมตามบ้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีการนำ แอปเปิล กับเหรียญชนิดหกเพ็นซ์ใส่ลงในอ่างน้ำ หากใครสามารถแยกแยะของสองอย่างนี้ ออกจากกันได้ด้วยการใช้ปากคาบเหรียญขึ้นมา และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิลให้ติดเพียงครั้งเดียวถือว่าผู้นั้นจะโชคดีตลอดปีใหม่ ที่กำลังมาถึง
ประวัติ แจ็ก-โอ’-แลนเทิร์น (Jack-o’-lantern)
ตะเกียงฟักทอง, โคมไฟฟักทอง หรือ แจ็ก-โอ’-แลนเทิร์น (Jack-o’-lantern) เป็นอุปกรณ์ประดับตกแต่งสถานที่ซึ่งนิยมใช้ใน เทศกาลฮาโลวีน มีลักษณะเป็นผลฟักทองสีส้ม แกะสลักเป็นรูปหน้าคนในกริยาต่างๆ โดยมากมักเป็นกริยาแสดงอาการข่มขวัญ หรือโอดครวญ ทั้งนี้ การใช้ตะเกียงฟักทอง เป็นการระลึกถึง แจ็ก (jack) ชายชาวนาในตำนานที่หาญกล้าต่อกรกับซาตาน
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็น วันชาติ อีกด้วย
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของนายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของนายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
ประวัติ[แก้]
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)